วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มสีส้ม

หลังจากอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) มีผลบังคับใช้แล้ว การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดในประเทศไทย (Land Impact Survey : LIS) อย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในเดือน พ.ค.2543 โดยศูนย์ปฏิบัติการสำรวจ (Survey Action Center : SAC) เป็นผู้ปฏิบัติการสำรวจ มีองค์การเพื่อความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People’s Aid : NPA) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการสำรวจ การสำรวจเสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย.2545

อ่านต่อ

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

Landmine Monitor 2015 @Thailand

ประเทศไทยหลังจากลงนามในอนุสัญญาออตตวาฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 พ.ค.2542 ประเทศไทยต้องค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิดที่มีให้หมดในวันที่ 1 พ.ค.2552 (10 ปี หลังเริ่มสัญญา) แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จ จึงขอขยายระยะเวลาต่อไปอีก 9.5 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พ.ย.2561

ในปัจจุบันสถานะของประเทศไทยถูกระบุว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track)

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของไทยในสายตา NPA : NGO ระดับนานาชาติ

องค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็น NGO ระดับนานาชาติองค์กรหนึ่งของโลกใบนี้ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ แจ้งเตือน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิด และการลดอาวุธทุกรูปแบบ ได้จัดทำรายงานชื่อว่า "Clearing The Mines" แจกจ่ายในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ครั้งที่ 14 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2558 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย พอจะสรุปให้ฟังเพื่อประดับความรู้ได้ดังนี้...

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

เฮง รัตนา กับงานการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมไทย-กัมพูชา

ผมได้มีโอกาสเห็นการทำงานของ ฯพณฯ เฮง รัตนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (H.E.HENG Ratana, Director of the cambodian Mine Action Centre : CMAC) จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสเตชั่นวัน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว