ผมได้เห็นนโยบายใหม่ที่จะมีการเสนอให้เริ่มต้นใช้ในปีการศึกษา 2560 คือ ส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคนเล่นดนตรีไทยให้เป็นคนละ 1 ชนิด ภายใน 5 ปี โดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เป็นผู้เสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมเตรียมหารือกับกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่ และเป็นการฝึกสมาธิ ให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ประเทศไทยกำลังถูกนำเข้าสู่การบริหารประเทศตามแนวประชารัฐ จริงหรือ?
"ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" นี่คือ วิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่เขียนไว้ใน (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2460-2579) โดยมีคติพจน์ประจำชาติว่า "มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ข้าราชการของใคร
การทุจริตคอรัปชั่น ในแวดวงข้าราชการของไทย เป็นเรื่องราวที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้ปกครองหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมา ล้วนพยามยามหาทางแก้ไขและกำจัดให้หมดสิ้นไป แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังมีให้เห็นกันดาดดื่น แม้ในสมัยปัจจุบัน ดูเหมือนจะยิ่งหนักกว่าเดิมเสียอีก
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่ใกล้จะถึงเวลาล้มเหลว จากน้ำมือของนักการเมืองที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศ แทรกแซงการทำงานและการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ จนทัศนคติของข้าราชการในปัจจุบันเปลี่ยนไป ข้าราชการส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า หากจะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่แล้ว ต้องใช้วิธีการทำงานแบบพยากรณ์ (ดูรายละเอียด) มากกว่าวิธีการทำงานโดยใช้ฝีมือ
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เกิดอาเพศใดฤา ปีนี้..ผู้ประสบภัยทุ่นระบิดจึงมากเหลือเกิน
นับแต่ต้นปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้ (10 มิ.ย.2559) ยังไม่ถึงครึ่งปี มีผู้ที่ประสบภัยจากทุ่นระเบิดแล้วจำนวน 8 คน เสียชีวิต 2 คน ซึ่งเทียบกับปีที่แล้วมีเพียง 7 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต
อ่านต่อ
อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ไข่ใบละ 1 บาท
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2559 ผมและครอบครัวแวะไปเที่ยวชมโครงการ "ตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน จ.ราชบุรี" บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองหน้าหอนาฬิกา มีร้านค้าตั้งขายของยาวไปตลอดแนวตลาดเก่าโคยกี๊ 200 ปี หลังจากพวกเราหาที่จอดรถเรียบร้อย กำลังเดินเข้างาน พอดีใกล้ถึงช่วงเวลานาทีทองของร้านธงฟ้าพอดี
เห็นผู้คนเข้าคิวกันรอซื้อสินค้า ซึ่งจำนวนคนยังไม่มากเท่าใดนัก เพราะยังไม่ถึง 17:30 น. ซึ่งเป็นเวลานาทีทอง ผมกับครอบครัว รวม 3 คน ก็เลยยืนเข้าคิวบ้าง จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ตั้งใจ แค่อยากหาประสบการณ์ดู วันนั้นตลาดธงฟ้าจัดรายการสินค้า ดังนี้
- น้ำตาลทราย ปกติราคา กก.ละ 23.50 บาท ขาย 17 บาท จำกัดคนละ 2 กก. จำหน่าย 300 ชุด
- น้ำมันถั่วเหลือง ปกติราคา 55 บาท ขาย 35 บาท จำกัดคนละ 2 ขวด จำหน่าย 300 ชุด
- น้ำมันปาล์ม ปกติราคา 42 บาท ขาย 30 บาท จำกัดคนละ 2 ขวด จำหน่าย 300 ชุด
- ข้าวขาว 5% (บรรจุ 5 กก.) ปกติถุงละ 105 บาท ขาย 65 บาท จำกัดคนละ 1 ถุง จำหน่าย 300 ถุง
- ไข่ไก่ ปกติแผงละ 85 บาท ขาย 30 บาท จำกัดคนละ 1 แผง (30 ฟอง) จำหน่าย 300 แผง
กติกาการซื้อสินค้า คือ ทุกคนซื้อได้คนละ 1 รายการเท่านั้น
ทุกรายการสินค้ามีคนรอเข้าคิวหมด แต่คิวที่ยาวที่สุด คือ ไข่ไก่ รวมทั้งตัวผมและภรรยาด้วย 2 คน อย่างน้อยวันนี้ ผมก็ได้ซื้อไข่ใบละ 1 บาท รวมสองคนก็ได้ 60 ฟอง รับประทานไปได้หลายมื้อทีเดียว ส่วนลูกสาวไปเข้าคิวซื้อน้ำมันถั่วเหลือง เพื่อเตรียมเอาไปไว้ทอดไข่
วันนั้น คนเข้าคิวรวมแล้วประมาณ 200 คนหรือมากกว่าเล็กน้อย แต่สินค้าที่จัดนาทีทอง คำนวณทุกรายการแล้วรวมถึง 1,500 ชุด ผมยังนึกในใจว่า ถ้าเราไปซื้อสินค้ารายการอื่นได้ก็คงจะดีนะ เพราะมันคงเหลือแน่เลย สินค้านาทีทองมีจำนวนมากกว่าคนเข้าคิวรอ 6-7 เท่า
สักพัก..ผู้ประกาศร้านธงฟ้าประกาศว่า "ให้แต่ละคนสามารถซื้อสินค้ารายการอื่นได้อีกคนละ 1 ชุด แต่ห้ามวนมาซื้อรายการสินค้าเดิมซ้ำ" หมายถึง ทุกคนสามารถไปซื้อสินค้าทั้ง 5 รายการได้จำกัดคนละ 1 ชุดเท่านั้น
วันนั้น ผมและครอบครัวจึงได้สินค้าหลายรายการอยู่ อย่างน้อยที่เห็นก็คือไข่ไก่ใบละ 1 บาท รวม 90 ฟอง (พ่อ,แม่,ลูก)
หากวันนั้นคนเข้าคิวเยอะกว่าจำนวนสินค้า ก็คงได้เพียงคนละ 1 รายการเท่านั้น
สงสัยคนราชบุรี มีอันจะกิน เลยไม่ได้ไปเข้าคิวรอซื้อสินค้าราคาถูกในงานดังกล่าว
หรืออีกนัยหนึ่ง..อาจจะไม่ทราบก็ได้ (อย่างเช่นผม ก็ไม่ทราบ เผอิญแวะไปเที่ยวงานพอดี)
บางคน..ไม่มีเงินพอจะซื้อ
ถึงแม้จะมีการอนุญาตให้ซื้อสินค้ารายการอื่นได้ แต่ก็มีบางคน บางกลุ่ม ไม่มีเงินจะซื้อ อย่างเช่น แรงงานชาวเมียนมาร์ กลุ่มหนึ่งประมาณ 5-6 คน (คงมารับจ้างแรงงานแถวราชบุรี) ผมสังเกตุว่าพวกเขาช่วยกันค้นหาเงินในกระเป๋า แต่ดูเหมือนว่าจะมีไม่มากนัก พูดคุยกันอยู่สักพัก จึงเข้าคิวเลือกซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นคือ ข้าวสารมากหน่อย รองลงมาคือ ไข่ และที่เหลือซื้อน้ำมันปาล์ม (คงเอาไว้ทอดไข่กินกับข้าว)
บางคน..ก็ซื้อไปขายต่อ
หลายคนมากันเป็นกลุ่มเข้าคิวซื้อเพื่อนำไปขายต่อ บางกลุ่มมากถึง 10 คน มีการวนเวียนซื้อสินค้ารายการเดิมซ้ำ เพราะคิดว่าเจ้าหน้าที่คงจำไม่ได้ เพราะไม่มีการแสดงบัตรหรือทำสัญลักษณ์ใดๆ ว่าคนนี้ซื้อแล้ว กลุ่มพวกนี้ก็มีเยอะครับ....ผมยืนดูอยู่ก็รู้สึกว่า "ไม่น่าทำเลย" นี่กระมังที่เขามักบอกว่า "คนไทยบางคนไม่ค่อยเคารพกฏกติกา มักเห็นแก่ตัว" แต่ก็พยายามคิดในทางที่ดีว่า คนกลุ่มนี้ เขาคงมีความจำเป็น ก็เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว
ขอบคุณร้านธงฟ้า วันนั้น ผมและครอบครัวได้ไข่ใบละ 1 บาท มารับประทานถึง 90 ฟอง คงทานไปได้หลายวัน แต่หลังจากหมดแล้ว ก็คงต้องหันมาซื้อไข่ใบละ 3 บาท รับประทานกันต่อไป เช่นเดิม...
*********************
ชาติชยา ศึกษิต : 11 มิ.ย.2556
ทุกรายการสินค้ามีคนรอเข้าคิวหมด แต่คิวที่ยาวที่สุด คือ ไข่ไก่ รวมทั้งตัวผมและภรรยาด้วย 2 คน อย่างน้อยวันนี้ ผมก็ได้ซื้อไข่ใบละ 1 บาท รวมสองคนก็ได้ 60 ฟอง รับประทานไปได้หลายมื้อทีเดียว ส่วนลูกสาวไปเข้าคิวซื้อน้ำมันถั่วเหลือง เพื่อเตรียมเอาไปไว้ทอดไข่
วันนั้น คนเข้าคิวรวมแล้วประมาณ 200 คนหรือมากกว่าเล็กน้อย แต่สินค้าที่จัดนาทีทอง คำนวณทุกรายการแล้วรวมถึง 1,500 ชุด ผมยังนึกในใจว่า ถ้าเราไปซื้อสินค้ารายการอื่นได้ก็คงจะดีนะ เพราะมันคงเหลือแน่เลย สินค้านาทีทองมีจำนวนมากกว่าคนเข้าคิวรอ 6-7 เท่า
สักพัก..ผู้ประกาศร้านธงฟ้าประกาศว่า "ให้แต่ละคนสามารถซื้อสินค้ารายการอื่นได้อีกคนละ 1 ชุด แต่ห้ามวนมาซื้อรายการสินค้าเดิมซ้ำ" หมายถึง ทุกคนสามารถไปซื้อสินค้าทั้ง 5 รายการได้จำกัดคนละ 1 ชุดเท่านั้น
วันนั้น ผมและครอบครัวจึงได้สินค้าหลายรายการอยู่ อย่างน้อยที่เห็นก็คือไข่ไก่ใบละ 1 บาท รวม 90 ฟอง (พ่อ,แม่,ลูก)
หากวันนั้นคนเข้าคิวเยอะกว่าจำนวนสินค้า ก็คงได้เพียงคนละ 1 รายการเท่านั้น
สงสัยคนราชบุรี มีอันจะกิน เลยไม่ได้ไปเข้าคิวรอซื้อสินค้าราคาถูกในงานดังกล่าว
หรืออีกนัยหนึ่ง..อาจจะไม่ทราบก็ได้ (อย่างเช่นผม ก็ไม่ทราบ เผอิญแวะไปเที่ยวงานพอดี)
บางคน..ไม่มีเงินพอจะซื้อ
ถึงแม้จะมีการอนุญาตให้ซื้อสินค้ารายการอื่นได้ แต่ก็มีบางคน บางกลุ่ม ไม่มีเงินจะซื้อ อย่างเช่น แรงงานชาวเมียนมาร์ กลุ่มหนึ่งประมาณ 5-6 คน (คงมารับจ้างแรงงานแถวราชบุรี) ผมสังเกตุว่าพวกเขาช่วยกันค้นหาเงินในกระเป๋า แต่ดูเหมือนว่าจะมีไม่มากนัก พูดคุยกันอยู่สักพัก จึงเข้าคิวเลือกซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นคือ ข้าวสารมากหน่อย รองลงมาคือ ไข่ และที่เหลือซื้อน้ำมันปาล์ม (คงเอาไว้ทอดไข่กินกับข้าว)
บางคน..ก็ซื้อไปขายต่อ
หลายคนมากันเป็นกลุ่มเข้าคิวซื้อเพื่อนำไปขายต่อ บางกลุ่มมากถึง 10 คน มีการวนเวียนซื้อสินค้ารายการเดิมซ้ำ เพราะคิดว่าเจ้าหน้าที่คงจำไม่ได้ เพราะไม่มีการแสดงบัตรหรือทำสัญลักษณ์ใดๆ ว่าคนนี้ซื้อแล้ว กลุ่มพวกนี้ก็มีเยอะครับ....ผมยืนดูอยู่ก็รู้สึกว่า "ไม่น่าทำเลย" นี่กระมังที่เขามักบอกว่า "คนไทยบางคนไม่ค่อยเคารพกฏกติกา มักเห็นแก่ตัว" แต่ก็พยายามคิดในทางที่ดีว่า คนกลุ่มนี้ เขาคงมีความจำเป็น ก็เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว
ขอบคุณร้านธงฟ้า วันนั้น ผมและครอบครัวได้ไข่ใบละ 1 บาท มารับประทานถึง 90 ฟอง คงทานไปได้หลายวัน แต่หลังจากหมดแล้ว ก็คงต้องหันมาซื้อไข่ใบละ 3 บาท รับประทานกันต่อไป เช่นเดิม...
*********************
ชาติชยา ศึกษิต : 11 มิ.ย.2556
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
รวบรวมเงินได้ 6,000 บาทไปเสียภาษี
หลังจากที่สรรพากรเขตพื้นที่ราชบุรี คำนวณภาษีเงินได้บุคคลย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555-2558 ที่ผมต้องชำระเพิ่มเติมจำนวน 251,241.69 บาท เมื่อวันที่ 31 พ.ค.2559 ซึ่งผมจะต้องไปชำระที่สรรพากร อ.เมืองราชบุรี ภายในวันที่ 3 มิ.ย.2559 นั้น
อ่านต่อ
อ่านต่อ
บทเรียนแห่งความไม่ใส่ใจ@อย่าทำอย่างผม
วันนี้ (31 พ.ค.2559) ผมไปยังสรรพากรเขตพื้นที่ราชบุรี เพื่อให้ช่วยคำนวณภาษีให้ ซึ่งเลยกำหนดเวลายื่นภาษีเงินได้มาแล้ว 2 เดือน หากไม่ไปติดต่อจะถูกหมายเรียก ขึ้นโรงขึ้นศาล ผลปรากฎว่าผมต้องหาเงินมาชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) เพิ่มเติมอีกจำนวน 251,241.69 บาท มันรู้สึกหนักเอาการอยู่ครับ โดยต้องไปติดต่อชำระเงินที่สรรพากร อ.เมืองราชบุรี ภายในวันที่ 3 มิ.ย.2559 ซึ่งเหลือเวลาอีก 3 วันเท่านั้น...
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
หนังสือเล่มสีส้ม
หลังจากอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) มีผลบังคับใช้แล้ว การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดในประเทศไทย (Land Impact Survey : LIS) อย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในเดือน พ.ค.2543 โดยศูนย์ปฏิบัติการสำรวจ (Survey Action Center : SAC) เป็นผู้ปฏิบัติการสำรวจ มีองค์การเพื่อความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People’s Aid : NPA) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการสำรวจ การสำรวจเสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย.2545
อ่านต่อ
วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559
Landmine Monitor 2015 @Thailand
ประเทศไทยหลังจากลงนามในอนุสัญญาออตตวาฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 พ.ค.2542 ประเทศไทยต้องค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิดที่มีให้หมดในวันที่ 1 พ.ค.2552 (10 ปี หลังเริ่มสัญญา) แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จ จึงขอขยายระยะเวลาต่อไปอีก 9.5 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พ.ย.2561
ในปัจจุบันสถานะของประเทศไทยถูกระบุว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track)
ในปัจจุบันสถานะของประเทศไทยถูกระบุว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track)
วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559
การปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของไทยในสายตา NPA : NGO ระดับนานาชาติ
องค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็น NGO ระดับนานาชาติองค์กรหนึ่งของโลกใบนี้ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ แจ้งเตือน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิด และการลดอาวุธทุกรูปแบบ ได้จัดทำรายงานชื่อว่า "Clearing The Mines" แจกจ่ายในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ครั้งที่ 14 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2558 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย พอจะสรุปให้ฟังเพื่อประดับความรู้ได้ดังนี้...
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
เฮง รัตนา กับงานการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมไทย-กัมพูชา
ผมได้มีโอกาสเห็นการทำงานของ ฯพณฯ เฮง รัตนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (H.E.HENG Ratana, Director of the cambodian Mine Action Centre : CMAC) จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสเตชั่นวัน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
พบสรรพาวุธระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในรอบ 15 ปี
วันที่ 23 มิ.ย.2558 หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 (นปท.2) ของกองทัพเรือ ตรวจพบสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (Abandoned Explosive Ordnance : AXO) จำนวนกว่า 5,000 รายการ บริเวณเทือกเขาบรรทัด บ.หนองรี ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด นับเป็นการพบเศษขยะสงครามครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา
อ่านต่อ
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
คืนสู่สามัญ..ไร้เฟส ไร้ไลน์
คงต้องยอมรับว่าสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ล้วนมีอิทธิพลไปเกือบทุกวงการ มีประโยชน์ทั้งทางบวกและทางลบ ผสมผสานกันไป ผู้คน/องค์กร ต่างๆ ล้วนติดสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วทันใจ ด้วยแอพพลิเคชั่นที่มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในประเทศไทย แอพฯ ยอดนิยม คือ เฟสบุ๊ค และไลน์
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
บางมุมของเมืองพูเน่ สาธารณรัฐอินเดีย
ผมได้มีโอกาสเป็น 1 ใน 11 คนที่เป็นตัวแทนของกองทัพไทยไปร่วมประชุมการเตรียมการฝึกการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม และการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ที่เมืองพูเน่ สาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ 11-15 ม.ค.2559 ที่ผ่านมา งานนี้มีผู้แทนจากกองทัพชาติต่างๆเข้าร่วมการประชุมถึง 17 ชาติ (รวมไทยด้วย)
การประชุมเตรียมการฝึกร่วม HMA Ex ที่อินเดีย
ผลการประชุมวางแผนขั้นสุดท้าย (Final Planning Conference : FTC) การฝึกปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (HMA Ex) และการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (PKOs) วันที่ 12-14 ม.ค.2559 ณ เมืองพูเน่ สาธารณรัฐอินเดีย
คิวต่อไปของไทย : อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง (CCM)
อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง (Convention on Cluster Munitions : CCM) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามใช้ ผลิต สะสม และโอนระเบิดพวงโดยสิ้นเชิง อนุสัญญาฯ นี้ เปิดให้ลงนามที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2551 ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมลงนามแล้วจำนวน 118 ประเทศ และส่งมอบสัตยาบันสารเป็นรัฐภาคีแล้ว จำนวน 98 ประเทศ สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการดำเนินการใดใด
การแกะรอยสนามทุ่นระเบิด K5 ยาวกว่า 700 กิโลเมตรตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
K5 Mine-belt แปลเป็นไทยได้ว่า "เข็มขัดทุ่นระเบิด K5" หรือที่มักรู้จักกันในนาม ม่านไม้ไผ่ (Bamboo Curtain) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2528-2532 หลังจากที่กองทัพเวียดนามขับไล่กองกำลังเขมรแดงออกนอกประเทศกัมพูชาได้แล้ว จึงทำการปิดผนึกเขมรแดงไม่ให้กลับเข้าประเทศด้วยการวางสนามทุ่นระเบิด ยาวกว่า 700 กม.ตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย มีการบันทึกว่าสนามทุ่นระเบิด K5 นี้กว้างถึง 500 เมตร ความหนาแน่นของทุ่นระเบิดที่วางประมาณ 3,000 ทุ่น ต่อความยาว 1 กิโลเมตร หากเป็นเช่นนั้นจริง เวียดนามต้องใช้ทุ่นระเบิดถึง 2,100,000 ทุ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)